ยินดีต้อนรับเข้าสู่คุณธรรม จริยธรรม Information and Communication Technology for Teachers

วันเสาร์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

       ประเพณีไทย
                               
 ประวัติความเป็นมาของงานแห่เทียนพรรษาเมืองอุบลราชธานี
พรรษา คือ ช่วงระยะเวลา 3 เดือนในฤดูฝนที่พระภิกษุสงฆ์จะต้องปฏิบัติธรรมอยู่วัดใดวัดหนึ่งโดยตลอดจะไปค้างคืนที่วัดอื่นไม่ได้ ข้อห้ามที่ให้พระอยู่วัดใดวัดหนึ่งตลอด 3 เดือนนี้ เพราะฤดูฝนเป็นฤดูเพาะปลูก ข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านกำลังเขียวขจี ถ้าพระออกเดินทางในฤดูนี้จะไปเหยียบย่ำข้าวกล้าพืชผลของชาวบ้านเสียหายได้ พระพุทธเจ้าจึงได้บัญญัติให้พระภิกษุสงฆ์หยุดเข้าพรรษาหรือหยุดพักฝน 3 เดือนไม่ให้จาริกเดินทางไปค้างคืนที่อื่นๆ (เข้าพรรษาแปลว่าพักฝน) การเข้าพรรษาจึงมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลหรือตั้งแต่สมัยพระพุทธเจ้า

วันเข้าพรรษา คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติหรืออยู่ในช่วงเดือนกรกฎาคมแล้วนับไปอีก 3 เดือนก็จะเป็นวันออกพรรษา ซึ่งจะตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรืออยู่ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี เมื่อพระต้องหยุดพักฝนหรือหยุดเข้าพรรษาทำให้พระมีเวลาศึกษาหาความรู้โดยเฉพาะการอ่านหนังสือ เวลาอ่านหนังสือให้เข้าใจและจดจำได้ดีที่สุดคือเวลากลางคืน ซึ่งเป็นช่วงที่เงียบสงบทำสมาธิได้ง่าย ในสมัยก่อนยังไม่มีไฟฟ้าเวลาพระจะอ่านหนังสือจึงจุดเทียน เมื่อชาวบ้านทราบจึงทำเทียนไปถวายพระ โดยเฉพาะการถวายในวันเข้าพรรษา ซึ่งถือว่าได้บุญกุศลมากยิ่งนัก นั่นคือจะทำให้ชีวิตของผู้ถวายมีความสุขสบาย สว่างไสว ไม่มืดมน หรืออีกนัยหนึ่งเป็นผู้มีปัญญา มีความรู้ เฉลียวฉลาดนั่นเอง


ประเพณีสงกรานต์
คำว่า "สงกรานต์ " มาจากภาษาสันสกฤต แปลว่า การผ่าน หรือ การย้าย โดยการนับ
ระยะเวลาที่เส้นทางของ ดวงอาทิตย์โคจรผ่านกลุ่มดาวฤกษ์จักราศีทั้ง 12 กลุ่ม ประกอบด้วย
กลุ่มดาวราศี เมษ พฤษภ เมถุน กรกฎ สิงห์ กันย์ ตุลย์ พิจิก ธนู มังกรกุมภ์ และ มีน การโคจร
ผ่านกลุ่มดาวแต่ละกลุ่ม จะใช้ระยะเวลา ประมาณ 30 วัน เมื่อ ดวงอาทิตย์โคจรผ่าน กลุ่มดาว
เหล่านี้ครบทั้ง 12 กลุ่ม ก็จะได้ระยะเวลา 1 ปี พอดี เป็นวิธีการนับเดือนที่ใช้กันใน ประเทศ
อินเดีย และกลุ่มประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งรับอิทธิพลทางวัฒนธรรมมาจาก
อินเดีย





เช่น ไทย พม่า เขมร ลาว เป็นต้น วันที่ 13 เมษายน เป็นวัน"มหาสงกรานต์" หรือ
วันเริ่มต้นปีใหม่ ทั้งนี้เป็นเพราะเป็นจากช่วงเวลาที่ดวง อาทิตย์โคจรผ่านจากราศีมีนเข้าสู่
ราศีเมษนั้น  โลกโคจรเป็นมุมฉากกับดวงอาทิตย์ จึงมีกลางวันและกลางคืนยาวเท่ากันพอดี
วันสงกรานต์เป็นวันทำบุญใหญ่ประจำปี มี 3 วันคือ  วันมหาสงกรานต์หรือวันส่งท้ายปีเก่า
(วันที่ 13 เมษายน)  วันกลางหรือวันเนา (วันที่ 14 เมษายน) วันขึ้นปีใหม่ หรือวันเถลิงศก
(วันที่ 15 เมษายน)
                                                                                                การละเล่นของไทย


ม้าก้านกล้วย
 เป็นอีกหนึ่งการละเล่นที่แสดงถึงความมีภูมิปัญญาของคนไทยทีเดียว เพราะในสมัยก่อนแทบทุกบ้านจะปลูกต้นกล้วยไว้ทั้งนั้น ดังนั้น ต้นกล้วยจึงนำมาประยุกต์เป็นของเล่นให้เด็ก ๆ ได้อย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะ ม้าก้านกล้วย ดูเหมือนจะถูกอกถูกใจเด็กชายวัยซนมากที่สุด เพราะเด็ก ๆ จะนำก้านกล้วยมาขี่เป็นม้า เพื่อแข่งขันกัน หรือทำเป็นดาบรบกันก็ได้














  วิธีทำม้าก้านกล้วย
 ก็ไม่ยาก เลือกตัดใบกล้วยออกมาแล้วเอามีดเลาะใบกล้วยออก แต่เหลือไว้ที่ปลายเล็กน้อยให้เป็นหางม้า เอามีดฝานแฉลบด้านข้างก้านกล้วยตรงโคนบาง ๆ เพื่อทำเป็นหูม้า แล้วหักก้านกล้วยตรงโคนหูม้าออก จากนั้นก็นำแขนงไม้ไผ่มาเสี้ยมปลายให้แหลม ความยาวประมาณคืบกว่า ๆ เสียบหัวม้าที่พับเอาไว้จนทะลุไปถึงก้าน เพื่อให้เป็นสายบังเหียนผูกปากกับคอม้านั่นเอง เสร็จแล้วก็นำเชือกกล้วยมาผูกด้านหัวม้าและหางม้า ทำเป็นสายสะพายบ่า แค่นี้ก็ได้ม้าก้านกล้วยไปสนุกกับเพื่อน ๆ แล้ว


  
                                                          วันสำคัญทางศาสนา

ประวัติความเป็นมา
"มาฆะ" เป็นชื่อของเดือน ๓ มาฆบูชานั้น ย่อมาจากคำว่า"มาฆบุรณมี" แปลว่าการบูชาพระในวันเพ็ญ เดือน ๓ วันมาฆบูชาจึงตรงกับวันขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๓ แต่ถ้าปีใดมีเดือน อธิกมาส คือมีเดือน ๘ สองครั้ง วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง ในวันพุทธศาสนา คือวันที่มีการประชุมสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพุทธศาสนา ที่เรียกว่า "จาตุรงคสันนิบาต" และเป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดง โอวาทปฎิโมกข์ แก่พระสงฆ์สาวกเป็นครั้งแรก ณ เวฬุวันวิหาร กรุงราชคฤห์ เพื่อให้พระสงฆ์นำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจะยังพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป 








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น